วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อาการนอนกรนในเด็ก(ตอน3)

*** อาการนอนกรนในเด็ก(ตอน3) ***
สวัสดีครับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน วันนี้หมอมีความรู้เรื่องอาการนอนกรนในเด็ก ตอนที่ 3 มาฝาก เรามาดูกันครับว่าจะมีเครื่องมือที่ช่วยในการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นได้อย่างไร

เครื่องมือที่ช่วยในการวินิจฉัย
- การใช้แบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามของต่างประเทศปัจจุบันได้รับการแปลมาเป็นภาษาไทยมีจำนวนทั้งหมด 18 ข้อ แล้วนำมาคิดเป็นคะแนน แบบสอบถามนี้ช่วยในการในการประเมินความรุนแรงและติดตามอาการ

- การถ่ายภาพรังสี เพื่อช่วยประเมินขนาดของต่อมอดีนอยด์ ดูลักษณะของโครงหน้าและกระโหลกศีรษะ

- การตรวจค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนขณะหลับ ใช้ในการคัดกรองการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น และควรได้รับการรักษาเรื่องการติดเชื้อและภูมิแพ้ก่อน

- การตรวจการนอนหลับชนิดเต็มรูปแบบ เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐานในการวิจัยการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นแต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ

เป็นอย่างไรบ้างครับจะเห็นได้ว่าเรามีเครื่องมือมากมายที่ช่วยในการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น แต่อย่างไรก็ดีประวัติและการตรวจร่างกายก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัยเช่นกัน

อ้างอิงจาก "แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาเด็กที่นอนกรนและหรืออะดีนอยด์โต"
เครดิตภาพ : http://en.m.wikipedia.org/wiki/Sleep_medicine

ติดตามสาระความรู้ภูมิแพ้เด็กแบบครบเครื่องได้ที่ : https://www.facebook.com/dearallergy/
# ครบเครื่องเรื่องภูมิแพ้เด็กกับหมอเดียร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น