วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อุบัติภัยช่วงปิดเทอม(ตอน1)

*** อุบัติภัยช่วงปิดเทอม (ตอน1) ***

สวัสดีครับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน หมอเชื่อว่าขณะนี้หลายๆครอบครัวคงกำลังวางแผนในการพาลูกหลานไปเที่ยวช่วงปิดเทอมกันแล้วใช่ไหมครับ วันนี้หมอมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติในช่วงปิดเทอมมาฝากกันครับ

### อุบัติภัยช่วงปิดเทอมพบได้บ่อยแค่ไหน ??? ###
จากการสำรวจและศึกษา ในปี 2539 โดยใช้ฐานข้อมูลของ กระทรวงสาธารณสุขและปี 2542 จากใบมรณบัตรทั่วประเทศพบว่า เด็กไทยตายจากอุบัติเหตุถึงปีละ 3,000-4,000 คน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ และพิการจากอุบัติเหตุ และในจำนวนเด็กที่เสียชีวิต ข้อมูลระบุว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งประมาณปีละ 1,400 คน การจราจรเป็นสาเหตุอันดับสอง ที่ทำให้เด็กเสียชีวิตปีละ 900-1,200 คน และส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชาย
.
เมื่อแยกย่อยลงไปจะพบว่า การเสียชีวิตจากการจมน้ำจะมีอัตราสูงในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 โดยมีเด็กจมน้ำตายราว 1,500 รายต่อปี หรือประมาณ 288 รายต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 47 ของการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
.
อันดับที่สองเกิดจากอุบัติเหตุการจราจรซึ่งจะคร่าชีวิตเด็กที่อายุ 7-15 ปีมากที่สุด เด็กเสียชีวิตจากการจราจรจะตกราว 770 รายต่อปี เฉลี่ย 65 คนต่อเดือน หรือร้อยละ 22 ของการตายของเด็กจากอุบัติเหตุทั้งหมด

### การจมน้ำสาเหตุอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตเด็กไทย ###
การจมน้ำของเด็กจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
.
กลุ่มแรก เป็นกลุ่มเด็กเล็กที่เกือบครึ่งของเด็กที่เสียชีวิตเกิดจากพ่อแม่เผลอไปทำธุระส่วนตัวช่วงสั้น ๆ เช่น พ่อแม่ไปเข้าห้องน้ำแล้วเด็กเดินหรือคลานไปเล่นกะละมังล้างจาน เป็นต้น
.
กลุ่มที่สอง เด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อยที่ชอบออกไปวิ่งเล่นรอบๆบ้านแล้วเกิดตกลงไปในสระหรือบ่อน้ำ
.
กลุ่มที่สาม เด็กที่เกิดอยากเล่นน้ำกับเพื่อนๆแต่ว่ายน้ำไม่เป็นหรือว่ายไม่

### การป้องกันการจมน้ำในเด็ก ###

กลุ่มเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
- การจัดให้สิ่งแวดล้อมในบ้านและบริเวณรอบ บ้านปลอดภัยจากการจมน้ำเช่น การกำจัดแหล่งน้ำาท่ีไม่จำเป็นในบ้าน
- แยกเด็กจากแหล่งน้ำ
- สร้างความ ตระหนักในความเสี่ยงแก่ผู้ดูแลเด็กเพื่อให้ผู้ดูแลเด็ก ให้การดูแลเด็กในวัยต่ำกว่า 3 ปีในระยะมองเห็นและ คว้าถึงได้ตลอดเวลา (arm reach or touch supervi- sion) และให้การดูแลเด็กในวัย 3-6 ปีในระยะมองเห็น และเข้าถึงได้
- การสื่อความรู้สู่พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กท้ังโดยตรงโดยบุคลากรสาธารณสุขหรืออื่นๆ รวมท้ังผ่าน สื่อสาธารณะท่ีเข้าถึงครอบครัว เช่น โทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต

กลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี
- ฝึกทักษะความปลอดภัยทางน้ำ โดยเน้นทักษะชีวิตเพื่อความปลอดภัยทางน้ำ ได้แก่ รู้จักและหลีกเลี่ยงการเล่นหรือการเข้าใกล้แหล่งน้ำที่มีความเสี่ยง  ลอยตัวได้ในระยะเวลาสั้นและว่ายน้ำระยะสั้นได้
- ฝึกทักษะการช่วยผู้จมน้ำอย่างถูกวิธีโม่ต้องกระโดดลงไปในน้ำ ได้แก่ การตะโกนขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ โยนสิ่งของลอยน้ำให้ผู้จมน้ำเกาะ หรือยื่นอปุกรณ์ที่มีความยาวให้เกาะแล้วดึวช่วย
- ใช้เสื้อชูชีพเสมอเมื่อจำเป็นต้องเดินทางหรือต้องทำกิจกรรมใกล้แหล่งน้ำ
- ชุมชนจะต้องพัฒนาพื้นที่เล่นของเด็กที่มีความปลอดภัยในชุมชน รวมทั้งแยกเด็กออกจากแหล่งน้ำเช่น การกั้นรั้วบ่อน้ำใช้หรือสระน้ำในชุมชน เป็นต้น

เป็นอย่างไรครับความรู้เรื่องการป้องกันการจมน้ำในวันนี้ ในตอนหน้าเรามาดูกันครับว่าเราจะป้องกันการเกิดอุบัติภัยในช่วงปิดเทอมตอนหน้าจะเป็นอย่างไร อย่าลืมติดตามกันนะครับ 😊😊😊

อ้างอิงจาก "แนวทางสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ"
เครดิตภาพ : http://www.thaincd.com/drowning/information.php

ติดตามสาระความรู้ภูมิแพ้เด็กแบบครบเครื่องได้ที่ : https://www.facebook.com/dearallergy/
#ครบเครื่องเรื่องภูมิแพ้เด็กกับหมอเดียร์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น